My Money Toolkit | เครื่องมือการเงินของฉันวงแหวนเว็บ

ว่าด้วยภาษีคริปโตแบบเข้าใจง่าย

16/11/2024 - views
Share :

สามารถเข้าถึงเครื่องมือดีๆ ก่อนใครเพียงสมัครสมาชิกที่ Ko-fi

เร็วๆนี้

Sheet กลยุทธ์ปลดหนี้

☕ All Supporter

coming soon...

เร็วๆนี้

Sheet Payoff chart

🥇 Gold

coming soon...

แก้สูตร yahooF

แก้สูตร yahooF

☕ All Supporter

✅ ดึงข้อมูลหุ้นอัตโนมัติ

Member 1 Avatar
Member 2 Avatar
Member 3 Avatar
10 Members

เสียภาษีคริปโตฯ สำหรับมือใหม่: คู่มือเข้าใจง่าย

การลงทุนในคริปโตเคอร์เรนซีได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน ตอนนี้ราคาพุ่งขึ้นไปสูงมากๆแล้ว สำหรับคนที่พึ่งเข้ามาใหม่ ไม่ว่าจะเข้ากันตอนไหน แต่การเข้าใจเรื่องภาษีเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักลงทุน เพื่อช่วยให้ทำตามกฎหมายและยื่นภาษีได้อย่างถูกต้อง ไม่โดนคิดย้อนหลังกันแบบจุกๆ บทความนี้จะสรุปข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการเสียภาษีคริปโตฯ

การขายหรือแลกเปลี่ยนคริปโตฯ

สำหรับการแลกเปลี่ยนโอนสกุลเงิน ไทยเป็นคริปโตแล้วแลกกลับมา หรือเป็นคริปโตแล้วแลกกลับมาเป็นบาท

หลักการสำคัญ

  1. มาตรา 40(4)(ฌ): กำไรจากการขายหรือแลกเปลี่ยนคริปโตฯ ถือเป็นรายได้ที่ต้องนำไปคำนวณภาษีประจำปี
  2. เงื่อนไขพิเศษสำหรับ Exchange ภายใต้การกำกับ ก.ล.ต.:
    • สามารถหักผลขาดทุนในปีเดียวกันได้: ขาดทุนจากการซื้อขายคริปโตฯ สามารถนำมาหักลบกับกำไรได้ สามารถนำมาหักกลบกับกำไรโทเคนดิจิทัลประเภทใดก็ได้(ต่างจากการลงทุนในต่างประเทศที่ปัจจุบันไม่สามารถหักขาดทุนได้)
    • ยกเว้นการหักภาษี ณ ที่จ่าย และ VAT: ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือหักภาษี ณ ที่จ่ายในกรณีนี้
  3. การคำนวณต้นทุน:
    • ใช้ได้ทั้ง FIFO (First In, First Out) และ ถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average) คำนวณต้นทุนแยกตามประเภทของเหรียญ
    • ต้องใช้วิธีการเดียวกันตลอดทั้งปี
  4. ต้นทุนกำไรคิดปีต่อปี:
    • ต้นทุนที่เหลือจากปีปัจจุบันสามารถนำไปใช้เป็นต้นทุนในปีถัดไปได้
  5. การแลกเหรียญระหว่างสกุลเงินคิดภาษี หากมูลค่าที่ไม่เท่ากันต้นทุนเงินบาทก็ต้องคิดเป็นกำไรขาดทุน เช่น 1,000 บาท ได้ 2 BTC จากนั้นนำ 2 BTC ไปแลก 10 ETH มูลค่า 2,000 บาทก็ถือว่าได้กำไร 1,000 บาทแล้ว

การขุดคริปโตฯ

หลักการสำคัญ

  1. มาตรา 40(8):
    • วันที่ได้รับเหรียญจากการขุดยังไม่ต้องเสียภาษี
    • หากขายหรือแลกเปลี่ยนเหรียญ จะถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษี
  2. หักค่าใช้จ่ายต้นทุนการขุดได้:
    • ค่าไฟฟ้า
    • ค่าอุปกรณ์ที่ใช้ขุด เช่น การ์ดจอ หรือเครื่อง ASIC Miner

ได้คริปโตฯ เป็นเงินเดือนหรือค่าจ้าง

หลักการสำคัญ

  1. มาตรา 40(1) หรือ 40(2):
    • รายได้ในรูปแบบนี้จะคำนวณจากราคาถัวเฉลี่ยในวันที่ได้รับคริปโตฯ
    • ตัวอย่างเช่น ได้รับ 0.1 Bitcoin ในวันที่ราคาอยู่ที่ 1,000,000 บาทต่อเหรียญ จะถือว่ามีรายได้ 100,000 บาท

ได้รับคริปโตฯ เป็นรางวัล

หลักการสำคัญ

  1. มาตรา 40(8):
    • หากได้รับเหรียญจากกิจกรรมส่งเสริมการขายหรือรางวัลใด ๆ จะถือเป็นรายได้
    • ต้องคำนวณภาษีจากราคาถัวเฉลี่ยในวันที่ได้รับ

ผลตอบแทนจากการถือครอง (Yield Farming, Staking)

หลักการสำคัญ

  1. โทเคนดิจิทัล:
    • เข้าข่ายมาตรา 40(4)(ซ)
  2. คริปโทเคอร์เรนซี:
    • เข้าข่ายมาตรา 40(8)
  3. รายได้จะถูกคำนวณจากราคาถัวเฉลี่ยในวันที่ได้รับเหรียญ
  4. ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 ผู้ถือครอง โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน Investment Token ที่ได้รับเงินปันผล,ผลประโยชน์อื่นใด และถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้วในอัตรา 15% เป็น final tax ไม่ต้องคำนวณภาษีในปีนั้นได้

หมายเหตุสำคัญ

อ้างอิงและข้อมูลเพิ่มเติมที่ละเอียดขึ้นได้ที่

คู่มือการเสียภาษีคริปโตฯ จากกรมสรรพากร (PDF)
คำนวณภาษีจาก iTax
บทความจาก Finnomena


ภาษีคริปโตจากไทยรัฐ

คำเตือน: บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น หากต้องการความชัดเจนหรือคำปรึกษาเฉพาะด้าน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีหรือกฎหมายเพิ่มเติม

หวังว่าคู่มือนี้จะช่วยให้มือใหม่เข้าใจเรื่องการเสียภาษีคริปโตฯ ได้ง่ายขึ้น!

แถม Google sheet คำนวณ

ร่วมแบ่งปันเครื่องมือดีๆ
Share :
Image

การลงทุน

หนังสือการลงทุนที่น่าสนใจ
หมวดอื่น
The Intelligent Investor

The Intelligent Investor

คัมภีร์การลงทุนแบบเน้นคุณค่า

ซื้อเลย
The Millionaire's Top Secret

The Millionaire's Top Secret

ความลับสู่เงินล้านที่โรงเรียนไม่เคยสอน

ซื้อเลย
The Money Formula

The Money Formula

สมการแสนล้าน พลิกกระดานวอลสตรีท

ซื้อเลย
☕️
👏
❤️
💸
🎉
❤️
👏
4Star
ทีม merefine
my babe 💖
Fun manger
ขอบคุณผู้สนับสนุนจากใจ

คุณคือผู้ทำให้เราได้ทำต่อไป 💖

ผู้สนับสนุนเดือนนี้ 2 ท่าน

สมาชิก🥈+1

Buy Me a Coffee at ko-fi.com
Floating Image