- Google Sheet
- Investment
คำนวณภาษีหุ้นต่างประเทศ
นี่อาจเป็น google sheet ที่หลายคนรอคอยมานาน ผมเองก็เช่นกัน อย่างที่ว่าปีนี้เริ่มคิดภาษีเงินที่นำเข้าจากต่างประเทศกันแล้วหากเป็นกำไร แล้วนำเข้ามาในปีภาษีก็ต้องเสียภาษีกันถ้วนหน้า
💡 โดยไอเดียการทำชีทนี้ก็คือมีส่วนที่ทำอยู่แล้ว ร่วมกับคุณหมอลูกเพจผู้ให้การสนับสนุน และไอเดียริเริ่มในการพัฒนาครั้งนี้ 🙏
แน่นอนว่าก่อนทำเราก็ควรศึกษาเรื่องภาษีกันก่อน ซึ่งทางสรรพากรก็ยังไม่ได้ให้ความชัดเจนมากนัก จึงขอรวบรวมลิ๊งมาให้ได้ลองไปอ่านกัน
สาระภาษี
-
วิธีการคำนวณต้นทุน
https://www.setinvestnow.com/th/knowledge/article/482-tsi-foreign-sourced-investment-tax-in-thailand
จะได้ความว่า: หลักการในการคำนวณต้นทุนของหุ้นที่ขายให้ชัดเจนและใช้หลักการดังกล่าวในการคำนวณอย่างสม่ำเสมอไม่ เปลี่ยนแปลงไปมา เช่น วิธี First-In, First-Out (FIFO) และ Average Cost เป็นต้น
ดังนั้นเราจะต้องมีตัวเลือกเพื่อความถนัดแต่ละคน -
ถามตอบภาษีต่างประเทศ
สรุป Live พูด-คุยข้อสงสัยภาษีลงทุนต่างประเทศจาก Jitta Wealth ซึ่งสรุปได้ค่อนข้างดีเลย มีภาพประกอบด้วย
https://blog.jittawealth.com/post/jitta-wealth-live-talk-about-update-oversea-investment-tax-2023 -
มาตรา 40
ที่รวบรวมไว้โดยสรรพากร อ่านรายละเอียดกันแบบชัดเจนได้เลย
-
คําถาม – คําตอบ เรือง การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดย สรรพากร
ถามตอบที่มีตัวอย่างประกอบจากสรรพากร
https://www.rd.go.th/fileadmin/download/news/question_p161_162.pdf
ขอสรุปตามความเข้าใจว่า
- ปันผลต่างประเทศ 40(4)(ข)
- กำไรลงทุนต่างประเทศ 40(4)(ช)
- กำไรอัตราแลกเปลี่ยน 40(8)
รายได้พึงประเมิน คือ เงินเช่นกำไรที่รับรู้แล้ว ปันผลต้องเสีย ส่วนต่างในการแลกเงินก็ต้องคำนวณภาษีหากได้กำไรจากการแลกเท่าเดิม ฉะนั้นเพื่อการคำนวณเราควรแยกเป็นส่วนทุน (บาทไทย) นำกลับมาเกินในหน่วยดอลที่เท่ากัน แต่กำไรค่าเงินก็จะเสียภาษี
ปัจจุบันยังมีการบอกว่าส่วนที่ขาดทุน หรือค่าธรรมเนียมนำมาลบหักค่าใช้ได้ ดั้งนั้นกำไรจากการขายจะเสียหมด ขาดทุนไม่เสีย แม้กำไรมาแล้ว เทรดใหม่แล้วขาดทุน ส่วนที่เคยกำไรก็เสียเท่าเดิม
ส่วนของปันผล หากประเทศต้นทางที่ลงทุนหากภาษีมากกว่าไทยเราใช้เป็นเครดิตภาษีส่วนที่จ่ายเกินไปได้ กลับกันหากต้นทางไม่เก็บเราต้องเสียเพิ่มที่ไทย
การพิสูจน์ว่าส่วนนำเขามานั้นเป็นกำไรหรือทุน ผู้เสียภาษีจะเป็นคนชี้แจ้ง ควรเก็บหลักฐานการแลกเงิน ธุรกรรมให้ครบเพื่อยืนยัน และตรวจสอบได้
หมายเหตุ เงินได้นั้นเกิดขึ้นก่อน 1 มกราคม 2567 เอามาได้ในปีถัดๆ ไปแบบไม่ต้องเสียภาษี
แต่ตามที่หลายคนเคยบอกว่า ก็คิดง่ายๆสิ โอนออกเท่าไหร่ โอนเค้ามาเกินก็นำมารวมคิดภาษีสิไม่ต้องคิดซับซ้อน ก็คิดภาษีหมดส่วนที่เกินจากเงินทุน(เงินบาท) ส่วนที่เป็นปันผลก็ต้องแยกคิดอีกทีเพราะเป็นรายได้คนละประเภทขอเครดิตคืนได้ แต่โดยรวมปัจจุบันก็เสียหมด ใครที่แลกเงินไปมาก็จะงงกันหัวแตกแน่
หากผิดพลาดตรงไหนขออภัย ณ ที่นี้ ถ้าต้องการความชัดเจนให้สอบถามเจ้าหน้าที่สรรพากรโดยตรง 1161 หรือสำนักงาน (ซึ่งแต่ละคนอาจจะตอบไม่ได้เหมือนกันเพราะยังไม่มีแบบชัดเจนออกมา)
จากข้อมูลต่างๆที่เราศึกษาเราก็นำมาสร้างเป็น google ที่จดรายการการการซื้อขายและแลกเงินไว้ที่เดียวเพื่อให้รับต้นทุนที่ชัด กำไรที่ชัดเจน และนำไปคำนวณต่อได้ และหากมีอัพเดทจากสรรพากรก็จะมาแก้ใหม่กันอีกที
อธิบายแต่ละชีท
- รายการเดินบัญชี [ชีทเดียวสำหรับกรอก]
ชีทสำหรับกรอกรายการซื้อขายทั้งหมด ทั้งการแลกเงิน การซื้อหุ้น โดยกรอกเฉพาะที่หัวคอลัมน์สีเหลือง
หลังจากนั้นจะมีผลลัพธ์ให้ดูฝั่งขวา โดยมวิธีการคิดกำไรให้เลือกก่อน นำไปคิดภาษี
-
สรุปรายการซื้อขาย [ดูอย่างเดียว]
หน้ารายการที่แสดงเฉพาะซื้อกับขายและแสดงกำไร ต้นทุนในแต่ละครั้ง ทั้งแบบเฉลี่ย และ FIFO
-
Summary [ดูอย่างเดียว]
หน้า dashboard สรุปพอร์ตปัจจุบัน
-
Filter Action [ดูอย่างเดียว]
เป็นหน้าสำหรับกรองเฉพาะ action ที่อยากดู
วิธีการใช้งานแบบละเอียด
- ตัวอย่างการกรอกเคสต่างๆ จะกรอกให้ดูเป็นตัวอย่างแล้ว ลองดูคร่าวๆก่อนได้
- หากต้องการเริ่มใช้งาน ให้ลบเฉพาะคอลลัมน์สีเหลืองเท่านั้น ได้แก่ B C D E F H I K และเลือกวิธีคิดกำไรว่าอยากให้คิดกำไรแบบ FIFO หรือ AVG ที่ด้านขวา
- หลังจากนั้นเริ่มกรอก จากวันที่ก่อน โดยหากเลือก action แล้วจะมีช่องสีเหลืองขึ้นแนะนำให้กรอกดังรูปแล้วจะมีคำแนะนำขึ้นที่ช่อง X
โดยปกติการจะเทรดต้องแลกเงินก่อน ดังนั้นเราต้องฝากเงินเข้ากระเป๋า USD ก่อน โดย
โดยช่อง E-F เป็นรายการที่เกี่ยวข้องกับบัญชี usd ใช้กับ action ฝาก ค่าธรรมเนียม VAT, SEC Fee ,TAF Fee,ปันผล,ถอนต่างๆ
ส่วนช่อง H-I จะเป็นเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้น กรอกเมื่อเลือก action ซื้อ กับขายเท่านั้น
จากรูปจะเป็นการแลกเงินก่อน จากนั้นซื้อสองครั้ง และขายตอนขายจะมีค่าธรรมเนียมซึ่งจะแยกรายการดังรูป
ถ้าซื้อเงินไทยระบบมันแลกให้หล่ะ กรอกยังไง ก็กรอกแยกสองขั้นตอนดังรูปเลย ยอดต้องพอดีกันนะ
ตัวอย่างการกรอกปันผล และถอน
ตัวอย่างการแตกพาร์: ให้ขายราคาทุน ซื้อคืนด้วยราคาใหม่ แต่หน่วยเพิ่มขึ้น
แต่ถ้ากรอกเลขเกินเงินที่มีอยู่ คุณก็จะพบกับสีแดงเตือนดังรูป แต่ถ้าคุณมั่นใจในที่คุณกรอกให้ตรวจสอบเงื่อนไขการเช็คที่ การจัดรูปแบบตามเงื่อนไข ถ้าผิดจริงแล้วแจ้งมาทางเพจได้
หากสงสัยติดปัญหาด้านใดแจ้ง page ได้เลย
ทั้งนี้เราก็ควรเก็บเอกสารการซื้อขายจากโบรกเกอร์ต่างๆให้ครับอยู่ดีเพื่อใช้ในเป็นเอกสารประกอบ