- Blog
- Personal Finance
ภาษีบุคคลธรรมดา 2567 ฉบับเข้าใจทั้งหมด
วันนี้ขอมาแบ่งปันเรื่องภาษีบุคคลธรรมดา กันแบบอยากให้เข้าเข้าใจง่ายๆกัน เสียเท่าไหร่?
ลดหย่อนยังไง?
บทความนี้มีคำตอบให้คุณเข้าแบบภาพรวมและไปตามต่อกันได้แน่นอน
หากยื่นไม่ถูกต้องโดนอะไรบ้าง
เบี้ยปรับ (ค่าปรับเสียเพิ่มจากเดิม)
- ยื่นไม่ตามกำหนด เสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของภาษีที่ต้องจ่าย อาจรวมถึงจำคุกด้วย
- ยื่นทันแต่เสียไม่ครบ เสียเบี้ยปรับ 1 เท่าของภาษีที่ต้องจ่าย
เงินเพิ่ม
- คำนวณจากที่จ่ายไม่ครบ 1.5% ต่อเดือน คิดง่ายๆคือ 18% ต่อปี ตั้งแต่วันที่ต้องยื่น
ภาษีจะคิดย้อนหลังกันได้ 5 ปี
ใครต้องยื่นบ้าง
ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีภาษีจะมีหน้าที่ต้องยื่นแบบฯ ก็ต่อเมื่อมีเงินได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ว่าเมื่อคำนวณภาษีแล้ จะมีภาษีต้องชำระเพิ่มเติมหรือไม่ก็ตาม
คนโสด ที่มีรายได้เป็นเงินเดือนตั้งแต่ 120,000 บาท ต่อปี หรือต่อเดือน 10,000 บาท หรือมีเงินได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินเดือน หรือ 60,000 บาท ต่อปี หรือ 5,000 บาทต่อเดือน มีหน้าที่ต้องยื่นภาษี
สมรส ที่มีรายได้เป็นเงินเดือนตั้งแต่ 220,000 บาท ต่อปี หรือต่อเดือน 18,333 บาท หรือมีเงินได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินเดือน หรือ 120,000 บาท ต่อปี หรือ 10,000 บาทต่อเดือน มีหน้าที่ต้องยื่นภาษี
สรรพากรมีการเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
มีวิธีการคำนวณ 2 แบบ คือ
วิธีที่ 1 ขั้นบันได
วิธีที่ 2 แบบเหมา
แบบไหนเยอะกว่าเสียแบบนั้น
แบบเหมา
คือรายได้นอกเหนือประเภทที่ 1 (เงินเดือน) หากรายได้จากทางอื่นทั้งหมดมีจำนวนรวมกันตั้งแต่ ให้คำนวณในอัตราร้อยละ 0.5 ของยอดเงินได้พึงประเมิน ถ้าไม่เกิน 5,000 บาท คิดแบบย้อนกลับรายได้ไม่มช่เงินเดือนคือ 1,000,000 คำนวณวิธีนี้ด้วยแบบไหนมากกว่าเอาแบบนั้น
โดยปกติยื่นแบบออนไลน์จะคำนวณให้เราอยู่แล้วว่าจ่ายแบบไหน
ขั้นบันได จากเงินได้สุทธิ
ใครมาถามเราว่าเสียภาษีเท่าไหร่เราควรเข้าใจที่ไปที่มาก่อน
รายได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ
แล้วเอาวางในตารางว่าแต่ละส่วนใส่เท่าไหร่ ซึ่งมีคนใจดีทำภาพให้ดูแบบว้าวๆ เข้าใจง่ายแล้วที่ เว็บ how to tax เข้าใจภาษีแบบ "เห็นภาพ”
https://taepras.github.io/howtotax/
แนะนำให้ไปลองเล่นกันดูได้
โดยก่อนที่เราจะไปลองโปรแกรมคำนวณ เรามาอธิบายแยกในส่วนของสมการกัน
รายได้
รายได้แบ่งเป็นหมวด อยู่ 8 หมวด ได้แก่
-
40 (1) เงินเดือน
เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ มนุษย์เงินเดือนเข้าอันนี้หมด -
40 (2) ค่าจ้างทั่วไป
ฟรีแลนซ์ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด Affiliate เข้าอันนี้นะ -
40 (3) ค่าลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา
ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล อันนี้ขอไม่ลงรายละเอียด -
40 (4) ดอกเบี้ย เงินปันผล คริปโต
พวกนักลงทุนควรอ่านอันนี้เพราะเกี่ยวข้องเต็มๆ ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งบางรายการเราจะโดนหัก ณ ที่จ่ายไปแล้วด้วย ถ้าใครเงินได้เยอะก็ใช้ Final tax ได้ ตามอ่านเพิ่มบทความที่เราเคยเขียนได้
https://mymoneytoolkit.app/posts/tax -
40 (5) ค่าเช่า
เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินหรือประโยชน์อย่างอื่น ที่ได้เนื่องจาก การให้เช่าทรัพย์สิน การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว คนที่ปล่อยเช่าคอนโดค่าเช่าต้องนำมาเป็นรายได้ด้วย -
40 (6) ค่าวิชาชิพอิสระ
คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้ อันนี้ขอไม่ลงรายละเอียด -
40 (7) รับเหมา
เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ -
40 (8) เงินได้อื่นๆ
ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 แล้ว ขายของออนไลน์อยู่ในนี้
อ่านแบบละเอียดได้ที่: https://www.rd.go.th/553.html
ปล.รายได้ขายของหรือบริการ(ค่าจ้าง ที่ไม่ใช่เงินเดือน)เกิน 1.8 ล้านบาท อย่าลืมไปจด VAT บุคคลธรรมดาด้วย!
ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายที่เราเอาหักได้ การทำของย่อมมีต้นทุน ซึ่งแต่ละหมวดก็จะมีการหักที่จ่ายต่างกัน โดยสรุปมีดังนี้
-
40 (1) เงินเดือน
กับ40 (1) รับจ้างทั่วไป
- หักเหมา 50% ไม่เกิน 100,000 บาท -
40 (3) ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิ
50% ไม่เกิน 100,000 บาท หรือตามจริง -
40 (4) หมวด ดอกเบี้ย
นักลงทุน เขาถือว่าไม่มีต้นทุน หักค่าใช้จ่ายไม่ได้ -
40 (5) ค่าเช่า
หักเหมาจ่าย 10-30% ตามประเภท หรือหักตามจริง โดยเงินผ่อนถือเป็นหนี้เอามาเป็นค่าใช้จ่ายไม่ได้ ให้หักแบบเหมาอาจจะง่ายกว่า -
40 (6) ค่าวิชาชิพอิสระ
หักเหมาจ่าย 30-60% ตามประเภท หรือหักตามจริง -
40 (7) เงินได้จากการรับเหมา
หักเหมาจ่าย 60% หรือหักตามจริง -
40 (8) เงินได้อื่นๆ
หักเหมาจ่าย 60% หรือหักตามจริง
ตรงนี้จะเห็นว่ามนุษย์เงินเดือนเสียเปรียบมาก เพราะได้แค่นี้ทั้งที่มีค่าใช้จ่ายมากอยู่เหมือนกัน ค่ารถค่าเดินอะไรอีกแต่หักได้เพียงเท่านี้
ส่วนอาชีพอื่นถ้ารายจริงเยอะก็สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายตามจริงได้
อ่านแบบละเอียดได้ที่: https://www.rd.go.th/556.html
ค่าลดหย่อน
มาในส่วนของค่าลดหย่อนที่หลายคนรอคอย ซึ่งแต่ละปีไม่เหมือนกันต้องคอยอัพเดตตามมาตราการของรัฐซึ่งก็จะมีซ้ำอยู่บ้างก็พอจะใช้ได้ทุกปีได้แก่
-
ลดหย่อนส่วนตัว
60,000 บาท -
ลดหย่อนคู่สมรส
(ไม่มีเงินได้) 60,000 บาท -
ลดหย่อนบุตร
คนละ 30,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 3 คน เกิดหลัง 2561 เป็นคนละ 60,000 บาท หากอายุ 20 - 25 ต้องยังเรียนอยู่ -
ลดหย่อนบิดามารดา
คนละ 30,000 บาท อายุ 60 ปี 1 คนใช้ได้ 1 สิทธิ์เท่านั้น(พี่น้องจะยื่นพ่อซ้อนกันไม่ได้) *รายได้พ่อแม่ต้องไม่เกิน 30,000 บาท ต่อปีหรือ 2,500 จะดอกเบี้ยบำนาญรวมหมด (พอไหม?) -
ลดหย่อนผู้พิการ
คนละ 60,000 สำหรับผู้ที่ดูแลผู้พิการ -
ค่าฝากครรภ์และทำคลอด
ตามจ่ายจริงไม่เกินท้องละ 60,000 บาท หักลบสวัสดิการ -
เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา
ตามจ่ายจริงรวมทุกคนไม่เกิน 15,000 บาท พ่อแม่อายุเท่าไหร่ก็ได้ แต่รายได้ของพ่อหรือแม่ต้องไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี -
เบี้ยประกันชีวิต
ตามจ่ายจริงไม่เกิน 100,000 บาท กำหนดฝากตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป -
เบี้ยประกันสุขภาพ
ตามจ่ายจริงไม่เกิน 25,000 บาท และรวมกับประกันชีวิตไม่เกิน 100,000 บาท -
กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (PVD) / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน / กบข.
ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินเดือน กบข. ได้สูงสุด 30% ของเงินเดือน และเมื่อรวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน 500,000 -
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และเมื่อรวมกับ PVD แล้วไม่เกิน 500,000 -
ประกันชีวิตแบบบำนาญ
ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 200,000 และเมื่อรวมกับ PVD RMF ต้องไม่เกิน 500,000 บาท -
เงินประกันสังคม
ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 9,000 บาท -
กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท รวมกับข้อก่อนหน้าต้องไม่เกิน 500,000 สำหรับกลุ่มประชาชนที่อยู่นอกเหนือระบบที่มีการจัดการเพื่อรับมือต่อการเกษียณ หรือกลุ่มประชาชนที่ไม่มีกองทุนประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ ระบบบำเหน็จบำนาญ -
กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)
ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ และไม่เกิน 200,000 รวมกับข้อก่อนหน้าต้องไม่เกิน 500,000 บาท -
ดอกเบี้ยซื้อที่อยู่อาศัย
เน้นย้ำว่าเพื่ออยู่อาศัยเอาไปปล่อยเช่าลดไม่ได้ ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท -
เงินบริจาคพรรคการเมือง
ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท -
เงินลงทุนธุรกิจวิสาหกิจเพื่อสังคม
ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท ลงทุนหรือลงหุ้น -
ค่าลดหย่อน Easy E-Receipt
ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาท เมื่อต้นปีเวลาซื้อน้อยมาก อันนี้ดูจะคุ้มสุดสำหรับที่จะซืื้ออยู่แล้ว ได้ลดหย่อนด้วย มาตราการนี้ต้องดูปีต่อปี -
กองทุนไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG)
ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี โดยได้ไม่เกิน 300,000 วงเงินแยก -
ค่าลดหย่อนเที่ยวเมืองรอง
1 พ.ค. - 30 พ.ย. 2567 ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท -
ค่าสร้างบ้านใหม่ 2567-2568
10,000 ต่อจำนวนค่าก่อสร้างที่จ่ายจริงทุกหนึ่งล้านบาท ให้สิทธิ์ไม่เกิน 100,000 -
เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ
2 เท่าของเงินบริจาคตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนอื่นๆก่อนหน้า (ลดได้จากเสี้ยวเงินที่เหลือ) -
เงินบริจาคทั่วไป
ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนอื่นๆก่อนหน้า
อ่านต่อแบบละเอียด iTax ทำไว้ดี คลิกดูเป็นอันๆ และ Q&A ในเคสที่ถามบ่อยๆ
https://www.itax.in.th/pedia/ค่าลดหย่อน/
https://www.rd.go.th/fileadmin/download/tax_deductions_update30072567.pdf
คำนวณภาษี
หลังจากที่เข้าใจกันคร่าวๆ แล้วเราก็มาลองกรอกกันว่าเราจะเสียภาษีกันได้เท่าไหร่ รายได้เท่าไหร่
โดยเว็บที่เราใช้คำนวณคร่าวๆ ก็มี
-
แอป iTax บนมือถือ อันนี้ใช้อยู่เหมาะสำหรับการคำนวณ ปรับเล่นให้เราเห็นภาพรวมประมาณได้ใกล้ความเป็นจริง แถมจำค่าได้ด้วย ทำให้เข้ามาอัพเดตได้เรื่อยๆ
Google Play
App Store
-
KAsset อันนี้ใช้ง่ายเเหมาะกับคำนวณคร่าวๆ คำนวณแบบเร็วๆได้เป็นขั้นตอน
https://www.kasikornasset.com/Pages/CalTax.html
- กรุงไทย นี้คำนวณรายได้ และ ลดหย่อนแบบละเอียดดี
https://www.ktam.co.th/tax.aspx
ปล.ส่วนถ้าผลตอบรับดี เราอาจจะทำเวอร์ชั่นของเรามาให้ลองเล่นกัน (ถ้ารีเควสกันมานะ 555)
อันนี้คือตารางภาษีขั้นบันได
หลังจากลองเล่นแล้วคิดว่า ถ้าใครวางแผนภาษีตอนนี้ก็อาจจะสายไปแล้ว ไม่เป็นไรปีหน้าเอาใหม่นะ 555
โดยจริงๆแล้วค่าลดหย่อนต่างๆเราสามารถเช็ค ข้อมูลที่มีการส่งให้สรรพกรได้ บนเว็บ MyTaxAccount จะมีพวกค่าประกัน(มักจะต้องรอเปิดปีมาสักพักถึงจะขึ้น) ค่าบริจาค เงินได้ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เงินเดือนรายได้ต่างๆ เงินเดือน ดอกเบี้ย เอาไปเช็คเป็นไกด์ไลน์ตอนยื่นได้ และเพิ่มส่วนอื่นๆที่ขาดเอาเองอีก
ตอนนี้ทำอะไรได้บ้างปลายปี
ลดหย่อนอะไรดี มีอะไรเป็นตัวเลือกบ้างจากที่เหลืออยู่
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF
ได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 30% และเมื่อรวมหมวดลงทุนไม่เกิน 500,000 บาท ต้องซื้อต่องเนื่องทุกปี หรืออย่างน้อยปีเว้นปี ต้องถือไว้อย่างน้อย 5 ปี จนอายุ 55 ปี เพิ่มกองเดิม หรือกองใหม่ก็ได้ กำไรไม่เสียภาษี ต้องแจ้งสิทธิ์ลดหน่อยให้บลจ. ทราบด้วย โดยเริ่มนับเวลาซื้อ RMF ครั้งแรก หลังจากนั้นซื้อเพิ่ม หรือ”สับเปลี่ยนกอง”ได้ ถ้าคิดว่าลงทุนผิดพลาด ห้ามขายไม่งั้นผิดเงื่อนไข
กรณีซื้อเกินสิทธิ กำไรของส่วนที่ไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษี ต้องเสียภาษี ดังนั้นการซื้อ RMF มากเกินสิทธิเป็นโทษ เพราะส่วนเกินสิทธิลดหย่อนภาษีไม่ได้ แต่กำไรโดนภาษี คิดตามฐานปีที่ขายเฉยๆ
กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)
ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ และไม่เกิน 200,000 และเมื่อรวมหมวดลงทุนไม่เกิน 500,000 บาท ต้องถืออย่างน้อย 10 ปีนับจากวันที่ซื้อ ตอนนี้ยังมีขายถึง 2567 ยังไม่มีการต่ออายุ กำไรไม่เสียภาษี ซื้อใหม่นับเวลาใหม่ แต่สับกองได้
กองทุนไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG)
ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี โดยได้ไม่เกิน 300,000 วงเงินแยก ต้องถืออย่างน้อย 5 ปีนับจากวันที่ซื้อ โดยสำคัญคือลงทุนในบริษัทในไทยเท่านั้น
เบี้ยประกันชีวิต
ตามจ่ายจริงไม่เกิน 100,000 บาท กำหนดฝากตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป สำหรับเงินค่าเบี้ยประกันชีวิตที่ได้รับคืน ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นเงินได้
ประกันชีวิตแบบบำนาญ
ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 200,000 และเมื่อรวมหมวดลงทุนไม่เกิน 500,000 บาท
เงินบริจาค
ให้มองว่าบริจาคอิ่มใจมากกว่า เพื่อลดหย่อยเพราะเงินที่เสียไปเขาบริจาค เงินที่ลดหย่อนเป็นผลพลอยได้
คำแนะนำให้เราลองประเมินภาษี
- เงินได้สุทธิก่อน ว่าได้เท่าไหร่
- ดูว่าใช้สิทธิ์ลดหย่อนอะไรได้บ้าง เอาที่จำเป็นก่อน
- ดูว่าเรามีเงินเหลือเท่าไหร่ ให้ลองคิดว่าเรามีเงินเอาไปลดหย่อนคุ้มกับภาษีที่ได้คืนไหม
- ให้เรามองมุมมองวางแผนอนาคตมากกว่า ว่าเรามีเป้าหมายอะไร แล้วให้การลดหย่อนเหมือนได้ของแถม
ขออนุญาติภาพจากเด็กการเงิน อันนี้เป็นตัวอย่างหนึ่ง ให้เรามองภาพว่าฐานเราดีรึยังมีเงินเก็บฉุกเฉินรึยัง มีประกันสุขภาพที่จำเป็นครบรึยัง ให้ลองตั้งเป้าหมายเป็นหลักก่อน ลดหย่อนเป็นของแถม
เด็กการเงิน DekFinance
โอกาสในการลดหย่อนภาษี
ข้อสังเกต
- ยิ่งมีรายได้เยอะ ทางเลือกในการประหยัดภาษีก็ยิ่งเยอะ (เป็นเปอร์เซนต์เยอะตามขั้น)
- ถ้ามีเงินเดือน 40,000 บาท ได้ทั้งปี 480,000 เสียภาษี 8,600
- ลงประกันเต็มวงเงิน 100,000 บาท เหลือภาษี 3,050 (ประหยัด 5,550)
- เคสลงกองทุนถ้ามีประกันชีวิตครบแล้ว เพิ่ม 160,000 บาท เพื่อให้เสียภาษี 0 บาท (ประหยัด 8,600)
- บริจาคการศึกษาอย่างเดียว 15,550 บาท เหลือภาษีที่ต้องจ่าย 6,495 บาท (ประหยัด 2,105)
- จะเห็นว่าถ้าอยากลดภาษีเอาเงินไป
ลดหย่อนแลกกับเงินที่ได้คืนคุ้มไหม
ถ้าจะมองแค่ได้คืนอย่างเดียว แต่ถ้ามองว่าอยากลงอยู่แล้ว แล้วได้ส่วนลดเพิ่มอันนี้โอเคกว่า
- เราควรพิจารณาให้ดีโฟกัสที่เงินที่เสีย ไม่ใช่เงินที่ได้คืน ได้คืนเยอะไม่ได้แปลว่าเราคุ้มค่าต้องดูความเหมาะสมของสภาพการเงินของตัวเอง
- การซื้อกองทุนในตอนปลายปีอาจไม่ใช่คำตอบที่ดีเพราะอาจได้ราคาที่ไม่ได้ถูก
- คนที่ลงกองทุนเพื่อลดหย่อนเรามองว่า ควรลงทุนเสี่ยงต่ำ แต่ไว้ใจได้ไม่ติดลบ เพราะลงยาว พอชนะเงินเฟื้อก็น่าจะเพียงพอแล้ว ซึ่งจริงๆก็สับกองได้แต่ต้องดูจังหวะและเงื่อนไขอีกที ของแถมคือช่วยประหยัดภาษี
- บางทีเราเอาเงินมาซื้อ
ความสุข
ก็ได้ เสียภาษีส่วนหนึ่งดีกว่าเป็นภาระทางการเงินระยะหนึ่ง(ประกันชีวิตเบี้ยสูงที่จ่ายไม่ไหว ไม่ควรเกิน 15% ของรายได้) หรือลงกองทุนแล้วติดลบขาดทุน ซึ่งถ้าเราได้กำไรมากกว่าภาษีที่ต้องเสีย ลงเองอาจะดีกว่าลงกองที่ถอนไม่ไม่ได้จนเกษียญ - ภาษีไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว กลัวไม่มีตังใช้มากกว่าาาา
แนะนำให้วางแผนภาษีตั้งแต่เนิ่นๆ จะได้รู้ว่าเรา ควรซื้อหรือทยอยซื้อยังไง อย่าลืม บวกโบนัส (ถ้ามี)
วางแผนภาษีให้เหมาะกับสภาพการเงินของตัวเองดีกว่าลดหย่อนให้หมดจนเกินตัว เกินความจำเป็น
- เติมประกันลดความเสี่ยงตามความจำเป็น
- ลงตามแผนการเงิน เพื่อให้มีใช้เกษียญ และความเสี่ยงที่รับได้
- กองทุนเสี่ยงน้อย ตราสารหนี้ เสี่ยงสูงลงในหุ้น
- หรือไม่อยากลงกองทุน เอาผลแน่นอนก็ลงพวกประกันสะสมทรัพย์ หรือประกันบำนาญก็ว่าไป
เสียภาษีบ้างก็ได้ แต่ได้หวังว่ามันจะคุ้มค่าที่เสียไป กับประเทศ ไม่ต้องหาทางลดหย่อนจนเหลือ 0 หรอก
การยื่นแบบ
เราแนะนำยืนผ่านเว็บจะง่ายสุด และถ้ามีเงินคืนก็ได้ผ่าน PromptPay ใช้เวลาไม่นาน
การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มี 2 ระยะ คือ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี เป็นการยื่นแบบแสดงรายการเงินได้เฉพาะเงินได้พึงประเมินประเภทที่
5,6,7 หรือ 8 ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนไม่ว่าจะมีเงินได้ประเภทอื่นรวมอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม
โดยยื่นภายในเดือนกันยายนของปีภาษีนั้น และภาษีที่เสียนี้นำไปเป็นเครดิตหักออกจากภาษีสิ้นปีได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี เป็นการยื่นแบบแสดงรายการเงินได้พึงประเมินที่ได้รับแล้ว ในระหว่างปีภาษี โดยยื่นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป
https://www.rd.go.th/558.html
ตอนยื่น เราแค่กรอกๆ มันก็จะแสดงภาษีที่ต้องจ่าย ซึ่งมันจะบางคนที่โดนหักไปก่อนแล้วเรียกว่า ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เราก็ต้องกรอกตามที่โดนหักไว้ล่วงหน้า เช่นใครรับจ้างทำของก็จะโดนบริษัทหักไว้ 3% หรือเป็นพนักงานเงินเดือนเขาก็จะมีหักไว้นำส่งตามที่คำนวณคร่าวๆว่าจะต้องจ่ายเท่าไหร่
ถ้ารวมแล้วหักน้อยกว่าเราก็ต้องจ่ายเพิ่ม ถ้าหักเกินก็สามารถขอคืนได้ ถ้าไม่ขอก็ถือเสียภาษีเท่าตามที่หักเลย
ใครที่อยากรู้แบบละเอียดๆก็สามารถหาความรู้เพิ่มได้ บทความนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นให้คุณเข้าใจเท่านั้น
และใครที่มีความเห็นว่าเราควรลดหย่อนยังไงฝากความคิดเห็นกันมาได้
ขอบคุณความรู้ทั้งหมดจาก
iTax: https://www.itax.in.th/
TaxBugnoms: https://www.facebook.com/TaxBugnoms
ไดอารี่การเงิน - Money Diaries: https://www.facebook.com/MoneyDiariesTH/
เว็บสรรพากร
ไปตามอ่านและติดตามกันได้ ส่วนใครอยากได้เครื่องมือดีหล่ะก็ติดเราเราไว้ได้เลย
My Money Toolkit
คำเตือน:
บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น
หากต้องการความชัดเจนหรือคำปรึกษาเฉพาะด้าน
ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีหรือกฎหมายเพิ่มเติม