- Blog
- Personal Finance
ลงทุนเสียภาษียังไง: สรุปภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากับการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ
เชื่อว่าผู้รายได้ทั้งหลาย ไม่ว่าจะทางไหน หลายคนคงกลัวกับภาษีกันอยู่แน่ๆ แต่จริงๆ แล้ว ภาษีเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนประเทศให้เดินหน้าอย่างมั่นคง(ถ้าบริหารอย่างมีประโยชน์และคุ้มค่า เราอาจมองว่าภาษีคือภาระที่ต้องจ่ายออกไปโดยไม่เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจน แต่หากมองในอีกมุมหนึ่ง ภาษีคือเงินที่เราลงทุนให้กับส่วนรวม เพื่อสร้างสาธารณูปโภค บริการสาธารณสุข การศึกษา และโครงสร้างพื้นฐานที่ทุกคนในสังคมได้ใช้ร่วมกัน
แม้คนที่แบกภาษีบุคคลธรรมของทั้งประเทศก็คือเหล่ามนุษย์เงินเดือนต่างๆ ที่การลดหย่อนต่างๆก็มีช่องทางเอื้อให้กับคนที่มีรายได้สูงก็ตาม ระบบภาษีที่ไม่สมดุลย่อมสร้างความเหลื่อมล้ำให้กว้างขึ้น
ภาษีเป็นเรื่องของหน้าที่ต้องทำตามจะได้เอาเงินไป ส่วนจะใช้ถูกเรื่องหรือไม่ก็อีกเรื่อง แต่ถ้าโดนเก็บย้อนหลังล่ะก็มีหนาวกันแน่ ดังนั้นเรามาเข้าเรื่องกันก่อนที่จะไปไกลมากว่านี้
บทความความนี้เกิดจากการรวมตามความเข้าใจ ตั้งใจที่จะเป็นแนวทางให้หลายคนเข้าใจด้านภาษีจากการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง และโดยขอแนบอ้างหลักฐานที่ปรากฏด้านล่าง หากข้อผิดพลาดประการใดสามารถแจ้งแก้ไขได้ และขออภัย ณ ที่นี้ด้วย
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
คือภาษีล่วงหน้าที่โดนเก็บล่วงหน้า เพื่อที่ต้นปีถัดไปตอนจ่ายภาษีจะได้ไม่โดนเก็บรวดเดียวเยอะ ซึ่งสามารถขอคืนได้หากฐานภาษีที่คำนวณไว้ไม่ถึงที่เก็บไป บางรายการเป็น Final tax ได้โดยไม่ต้องนำมายื่นอีก (เหมาะสำหรับคนที่ฐานสูง) และถ้าเราไม่ขอคืนก็รัฐก็ได้ไปเลย *ถ้าบางคนขอแล้วขอคืนเขา ก็อาจจะขอหลักฐานตรวจสอบด้วยนะ :)
Final Tax : คือ ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว และสามารถเลือกไม่รวมคำนวณในการยื่น ภ.ง.ด. ได้
คอนเซ็ปต์คือโดนหักไปก่อนขอคืนที่หลัง
โดยต่อจากนี้จะกล่าวในส่วนของภาษีที่โดนหักไปก่อน ตามสินทรัพย์ที่เราลงทุน
- เงินฝาก
- ทองคำแท่ง
- หุ้นไทย
- กองทุน
- Dr และ Drx
- หุ้นต่างประเทศ
- คริปโต
ดอกเบี้ยเงินฝาก
ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ จากธนาคารทุกบัญชีรวมกันใน 1 ปีแล้วมียอดมากกว่า 20,000 บาท ธนาคารจะหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% ของดอกเบี้ยจ่ายทันที เป็น Final Tax
ถ้าดอกเบี้ย 1.75% ได้ดอกเบี้ยเป็นเงิน 20,000 ต้องมีเงินต้น 1,142,857.14 ถ้าใครมีเงินฝากเท่านี้หล่ะก็ถ้าไม่อยากโดนหักไปก็เอาเงินไปลงที่สินทรัพย์อื่นดู เช่น ดอกเบี้ยสลากออมสิน ฝากประจำปลอดภาษี เป็นต้น
ทองคำแท่ง
การซื้อขายทองที่เป็นทรัพย์สินส่วนตัว เป็นทองคำแท่งได้ซื้อขายทำกำไรประกอบธุรกิจ ไม่เสียในแอปที่เทรดทอง หรือทองจริง จึงไม่ต้องเสียภาษีส่วนต่างราคา ในแอปที่แลกเป็นทองแท่งได้เช่นกัน
หุ้นไทย
- กำไร Capital Gain ยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับกำไรจากการขาย
- ปันผล ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% บางที่ได้รับการยกเว้น และเป็น Final Tax มาตรา 40(4)(ข)
- เครดิตภาษีเงินปันผล ที่เราสามารถได้เงินคืนได้จากการเสียภาษีซ้ำซ้อน
อธิบาย บริษัทได้กำไร 100 บาท เสียภาษีอัตรา 20% เหลือ 80 บาท จ่ายให้เราโดย ณ หักที่จ่าย 10% จะได้ 80*10% = 8 เหลือถึงเรา 72 เสียภาษี 28 บาท แต่ถ้าใช้เครดิตภาษี แล้วฐานภาษีเรา 10% เราจะเสีย 10 บาท แต่ถ้าคนฐานสูงก็ Final Tax ดีกว่า
ยื่นปันผลดีไหม?: แนะนำให้คำนวณดูก่อน ถ้าอันไหนได้คืนเยอะก็เอาอันนั้น สามารถดูว่าได้ปันผลจากไหนบ้างในที่เดียวที่เว็บ Investor Portal export มาเข้าโปรแกรมอื่นได้ด้วย
ข้อควรระวัง ถ้าเรายื่นปันผลตาม มาตรา 40(4)(ข) แล้วเราต้องยื่นทุกก้อนในที่นี้คือ ปันผลจากกองทุน ทุกกอง
กองทุน
- กำไร Capital Gain ยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับกำไรจากการขาย
- ปันผล ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% และเป็น Final Tax มาตรา 40(4)(ข)
Dr และ Drx
- กำไร Capital Gain ยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับกำไรจากการขาย เหมือนหุ้นไทย
- ปันผล ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% รายได้ประเภท 40(4)ก Final Tax ซึ่งเป็นรายได้ดอกเบี้ยและเงินเทียบเท่าเงินปันผล
ดังนั้นยื่นภาษีสามารถแยกรายได้จาก DR และ DRx ออกจากรายได้เงินปันผลจากหุ้นและกองทุนได้
อ่านการคำนวณเพิ่มเติมว่าลง DR คุ้มไหมได้ที่
https://mymoneytoolkit.app/posts/DRX
หุ้นต่างประเทศ
รายได้พึงประเมิน คือ เงินกำไรที่รับรู้แล้วหักค่าธรรมเนียม
เสียภาษีเมื่อมีแหล่งเงิน-ทำงานได้ในไทย และอยู่อาศัยในไทยอย่างน้อย 180 วัน
เงินได้นั้นเกิดขึ้นก่อนมกราคม 2567 เอามาได้ในปีถัดๆ ไปแบบไม่ต้องเสียภาษี
แต่ถ้าหลัง1 มกราคม 2567(ปีนี้) กำไรปีนี้เอาเข้าปีไหนก็เสียต้องเสียหมด
ปันผล หากประเทศต้นทางที่ลงทุนหากภาษีหักที่จ่ายมากกว่าไทยเราใช้เป็นเครดิตภาษีส่วนที่จ่ายเกินไปได้ กลับกันหากต้นทางไม่เก็บเราต้องเสียเพิ่มที่ไทย
ตัวอย่างเช่น
หักที่จ่ายในสหรัฐอเมริกา (15%) เมื่อเรานำปันผลส่วนี้เข้ามา หากเราเสียขั้นบันไดที่ 10% ก็เอาอีก 5% เป็นเครดิตส่วนเราจ่ายไปแล้วได้ โดยขึ้นกับอนุสัญญาภาษีซ้อนที่ไทยทำกับแต่ละประเทศ
ดังนั้น แยกเป็น 2 ก้อนก่อน ปันผล และ กำไร
ปันผลเสียอยู่แล้วนำกลับเข้ามาเสียนำไปคำนวณในฐานภาษี เราทดเก็บไว้ได้เลยว่าเสีย เอาไปรวมทั้งปีตอนนำเข้ามา เครดิตภาษีเอามายื่นได้
ถ้านำทุนกลับมาไม่ต้องเสียภาษี
โดยถ้าเรานำเงินกลับมามากกว่าทุนที่ลงไปถือว่าเสียภาษีทั้งหมดคิดแบบนี้ก็ได้
ทั้งนี้เราก็ควรเก็บเอกสารการซื้อขายจากโบรกเกอร์ต่างๆให้ครับอยู่ดีเพื่อใช้ในเป็นเอกสารประกอบ เก็บการแลกเงินให้ครบ
โดยปัจจุบันขาดทุนหักลบไม่ได้
*นำเงินกลับมาคือแลกเป็นบาท
อีกทางเลือกคือเอาเงินกลับมาตอนแก่ตอนที่รายได้เราน้อยกว่าขั้นภาษีจะได้ไม่เสีย
แต่ก็ต้องดูในอนาคตเหมือนกันว่าสรรพากรจะเก็บภาษีตั้งแต่ตอนเราได้กำไรเลยหรือไม่ 🤯
เรามีเขียนแบบเต็มๆที่มีชีทคำนวณแจกด้วย
https://mymoneytoolkit.app/posts/tax-offshore
คริปโต
หลักสำคัญ คือ รายได้จากผลตอบแทนต้องเสียภาษีทุกครั้งที่ได้รับถือเป็นรายได้ นำเป็นคิดเป็นราคาทุนเหรียญ และเมื่อขายเหรียญที่มีกำไรก็ต้องเสียภาษีอีกครั้ง
การขายหรือแลกเปลี่ยนคริปโตฯ (มาตรา 40(4)(ฌ))
- กำไรจากการขายหรือแลกเปลี่ยนคริปโตฯ ถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีประจำปี
- หากใช้ Exchange ที่ ก.ล.ต. กำกับ:
- ขาดทุนจากการซื้อขายสามารถนำมาหักลบกำไรได้ในปีเดียวกัน
- ไม่ต้องเสีย VAT และไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
- วิธีคำนวณต้นทุน: FIFO หรือ Moving Average (ต้องใช้วิธีเดียวกันตลอดปี)
- การแลกเหรียญระหว่างสกุลต้องคำนวณกำไร/ขาดทุนจากมูลค่าเงินบาท
การขุดคริปโตฯ (มาตรา 40(8))
- วันที่ได้รับเหรียญยังไม่ต้องเสียภาษี
- หากขายหรือแลกเปลี่ยนเหรียญจะถือเป็นรายได้และต้องเสียภาษี โดยหักค่าใช้จ่ายได้ เช่น ค่าไฟฟ้าและค่าอุปกรณ์ขุด
ได้คริปโตฯ เป็นเงินเดือนหรือค่าจ้าง (มาตรา 40(1) หรือ 40(2))
- คำนวณรายได้จากราคาถัวเฉลี่ยในวันที่ได้รับเหรียญ
ได้รับคริปโตฯ เป็นรางวัล (มาตรา 40(8))
- เหรียญที่ได้รับจากกิจกรรมต่าง ๆ ถือเป็นรายได้และต้องเสียภาษี
ผลตอบแทนจากการถือครอง (Yield Farming, Staking)
- โทเคนดิจิทัล: มาตรา 40(4)(ซ)
- คริปโทเคอร์เรนซี: มาตรา 40(8)
- ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 การถือ Investment Token ที่ได้รับปันผลถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ถือเป็น Final Tax
โดย
- ราคาถัวเฉลี่ยใช้ราคาประกาศจาก Exchange ที่ ก.ล.ต. รับรอง
- กรณีที่เรานำไปคำนวณเสียภาษีแล้ว สามารถนำมูลค่าดังกล่าวมาใช้เป็นต้นทุนเมื่อขายหรือแลกเปลี่ยนในอนาคต
เรามีเขียนแบบเต็มๆที่มีชีทคำนวณแจกด้วย
https://mymoneytoolkit.app/posts/crypto-tax
อัตราแลกเปลี่ยน
จริงๆอัตราแลกเปลี่ยนต้องเสีย ถ้าได้กำไรส่วนต่าง
แต่ถ้าบัญชี FCD ไม่เสียจ้า
ยื่นอย่างไร?
ปีหน้ายื่นยังไง กรอกแบบไหนจะมาอัพเดตบอกอีกที
รอติดตามเพจเราได้เลย
คำเตือน:
บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น
หากต้องการความชัดเจนหรือคำปรึกษาเฉพาะด้าน
ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีหรือกฎหมายเพิ่มเติม
ref
ภาษีหักที่จ่าย
https://www.rd.go.th/fileadmin/download/insight_pasi/wht_3_53_030260.pdf
ดอกเบี้ย
https://www.krungsri.com/th/krungsri-the-coach/taxes/tax-knowledge/interest-tax-saving
หมวด 3 ภาษีเงินได้
https://www.rd.go.th/2597.html
ทองคำ
https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=550768824138460&id=100076160405680&_rdr
เงินได้ประเภท 4 จาก iTax
https://www.itax.in.th/pedia/เงินได้ประเภทที่-4/
DR และ DRX
https://www.set.or.th/th/market/product/drx/introduction#broker
https://www.setinvestnow.com/th/knowledge/article/518-east-side-vs-west-side-dr-drx
ภาษีหุ้นต่างประเทศ จะนำเงินกลับไทยต้องเสียภาษีอะไรบ้าง Dime
https://dime.co.th/th/articles/foreign-investment-tax