My Money Toolkit | เครื่องมือการเงินของฉันวงแหวนเว็บ

ยื่นภาษีปีภาษี 2567 ภาคปฏิบัติ ฉบับมนุษย์เงินเดือน นักลงทุนเล็กๆน้อยๆ

12/02/2025 - views
Share :

สามารถเข้าถึงเครื่องมือดีๆ ก่อนใครเพียงสมัครสมาชิกที่ Ko-fi

Sheet บันทึกจ่ายปันผล

Sheet บันทึกจ่ายปันผล

🥇 Gold🥈 Silver

✅ เปิดให้สมาชิกดูก่อนใคร

Sheet ETF/Inverse ETF

Sheet ETF/Inverse ETF

🥇 Gold🥈 Silver

✅ เปิดให้สมาชิกดูก่อนใคร

แก้สูตร yahooF

แก้สูตร yahooF

☕ All Supporter

✅ ดึงข้อมูลหุ้นอัตโนมัติ

Member 1 Avatar
Member 2 Avatar
Member 3 Avatar
9 Members

ช่วงนี้คงถึงเวลายื่นภาษีของใครหลายคนกันแล้ว

ยื่นกันได้ถึงปลายมีนาคม แต่แนะนำให้ทำตอนนี้ดีกว่าเพราะบางทีเราอาจจะต้องการเอกสารอะไรกันอีก

วันนี้เราเลยจะมาแนะนำวิธี ยื่นภาษีปีภาษี 2567 ภาคปฏิบัติ
ฉบับมนุษย์เงินเดือน ลงทุนหุ้นไทย กองทุน ต่างประเทศ(ปีนี้ยังไม่โอนเข้า)

*ย้ำรอบที่หนึ่งโปรดติดต่อสรรพากรก่อน นี่ไม่ใช่คำแนะนำ แค่แนวทางตามที่เรายื่นเท่านั้น


ใครที่อยากเข้าใจเรื่องภาษีก่อนแนะนำให้อ่าน
https://mymoneytoolkit.app/posts/personal-tax-2567

ภาษีสำหรับนักลงทุน
https://mymoneytoolkit.app/posts/tax

หรือดูคลิปพี่ถนอม ช่อง taxbagnoms พี่เขาทำไว้ดีมาก
https://www.youtube.com/@TAXBugnomsChannel


วิธีการยื่น

1. เข้าเว็บกรมสรรพากร

https://www.rd.go.th

2. เข้า Digital My Tax
เพื่อดูข้อมูลที่สรรพากรรวมมาให้เราใช้แบบสะดวกมาก

image.png

หลังจากนั้น Login ด้วยช่องทางที่มี
เลือกปีที่จะยื่นและกดปุ่มน้ำเงิน ตรวจสอบข้อมูลและยื่นแบบ
image.png

3. ระบบจะแสดงรายการรายได้ และลดหย่อนต่างๆ ซึ่งในส่วนการออมและลงทุนจะมีประกันอยู่ในนั้น ทั้งประกันสังคมและประกันสุขภาพ ซึ่งถ้าใครทำหลังเดือนมกราคม ประกันน่าจะส่งข้อมูลให้หมดแล้ว ถ้าตกหล่นยังไงก็ลองเช็คดูกันได้
image.png

ในส่วนของ Easy E Receipt ปีนี้ก็รวมมาให้หมดเลย แถมตัดรายการ ค่าเน็ตค่าโทรศัพท์ออกแล้วด้วยปีที่แล้วหลุดมา ซึ่งข้อสังเกตค่าขนส่งจากร้านค้าออนไลน์ บางร้านก็จะมีแนบติดมาด้วย ถ้าได้คูปองลดค่าส่งด้วยยิ่งดีเลย เหมือนจ่ายแต่ได้บิลมากกว่าที่จะจริงเพราะ platform ช่วยออกแต่กำกับออกเต็ม ปีนี้ใครยังใช้ไม่ครบก็ลองสังเกตดูได้

ปีนี้ใครที่หาร้าน OTOP อยู่ดูที่เว็บนี้ได้มี 38 ร้านรวมไว้
https://plantung.mymoneytoolkit.app/easy2025

  1. ต่อมาในส่วนของดอกเบี้ยและธนบัตรหุ้นกู้ เท่าที่เราเช็คดู ส่วนใหญ่เป็นดอกเบี้ยที่มาจาก บริษัท หลักทรัพย์ที่เราฝากทั้งนั้น นอกจากนี้ยังมี ส่วนของ Dr และ drx รวมมาให้หมดแล้วด้วยไม่ต้องมากรอกเอง เท่าที่เราดูนะ ซึ่งในส่วนนี้เป็น Final Tax ได้ แต่ถ้าใครถามภาษีน้อยกว่า 10% ยื่นดีกว่า ในส่วน Dr และ DRX แต่ถ้าดอกเบี้ยจะเป็นที่ 15% ก็ลอง เทียบกันดูแล้วกัน ว่ายื่นหรือไม่ยื่น ได้คืนมากกว่ากัน

  2. ในส่วนขอปันผลหุ้น ก็ขึ้นมาเหมือนกัน แต่เท่าที่เราเทียบดูมันขึ้นไม่ตรงกับตอน เอา ไฟล์ TSD ตอนยื่นแบบ เราเลยมักจะกดยื่นเอง โดยติ๊กออกไปก่อน ซึ่งจริงๆพวกนี้ก็กรอกรายการเพิ่มได้เหมือนกัน

หลังจากนั้นให้เรากดติดยอมรับปรับปรุงข้อมูล โดยเลือกอันที่จะให้กรอกอัตโนมัติไปก่อน มันจะมีให้รีเช็ค แล้วเราค่อยปรับรายการตอนยื่นแบบได้
image.png

ส่วนใครที่สงสัยว่าจะยื่นหรือไม่ยื่นดี
ให้ลองกรอกเล่นๆในยื่นแบบธรรมดาก่อน หรือลองแอป itax หรือ ลองในเว็บ แพลงตังก็ได้เรามีฟีเจอร์ใหม่ให้ลองกันเล่นๆ
https://plantung.mymoneytoolkit.app/

image.png

  1. หลังจากนั้นมันจะพาเราไปหน้ายื่นแบบแสดงรายการ ** ภ.ง.ด ** เรา กรอกข้อมูลตามปกติ
    image.png

พอมาในส่วนที่ 2 กรอกรายได้ มันจะมีช่องสีฟ้า ที่มันกรอกมาให้ก่อน ซึ่งตรงนี้ก็พอมั่นใจได้ว่าสสรรพากรจะไม่ขอหลักฐานเพิ่ม
image.png

  1. ส่วนใครที่เป็นสายฟรีแลนซ์ ถ้าข้อมูลตอนแรกถูกต้องก็คงจะยื่นแบบได้เลย แต่ถ้าใคร แต่ถ้าใครเคยรับงาน ผ่านแพลตฟอร์มบางเจ้าถ้าโดนหัก ณ ที่จ่าย จากราคาเต็ม ก็จะโดน หักค่าคิวอยู่แล้ว ทำให้รายรับจริงไม่ตรงตามใบ ดังนั้นเวลากรอกตรงนี้ ก็ต้องปรับให้ตรงกับที่ได้จริง ทำให้มีความยุ่งๆอยู่บ้าง
    image.png
โดยหลักการกรอกรายได้จะกรอกรายได้ก่อนหักทั้งหมด
  1. มาในส่วนไฮไลท์ของผู้สนับสนุน ผู้ติดตามของเรากันบ้าง
    รายได้จากการลงทุน 40(4)
    โดย ถ้าเราติ๊ก ในส่วนของดอกเบี้ยก็จะเป็นสีฟ้ามาให้

image.png

  1. แต่ถ้าใครมีรายได้จากคริปโตหรือปันผลต่างประเทศหรือ กำไรจากการลงทุนต่างประเทศ ก็ต้องมาปรับปรุงรายการเพิ่มเติม จะเห็นว่า Dr ใส่มาให้หมดเลย

image.png

โดยจะมีประเภทธุรกิจให้กรอก แต่ถ้ากำไรจากการลงทุนต่างประเทศ ให้เลือก ผลประโยชน์ที่ได้จาก การที่กิจการควบเข้ากัน,รับช่วงกัน,เลิกกันโอนหุ้น โดยอ้างอิงจากคลิปของพี่ถนอม

image.png

แต่ในส่วนของปันผล เรื่องอนุสัญญาภาษีซ้อนนั้น เราขอละไปก่อนเนื่องจาก ต้องถามสรรพากร ว่าจะขอคืนยังไง ใครที่มีความรู้ก็แชร์บอกเรากันได้

  1. มาต่อในส่วนของ 40(4)(ข) ปันผลจากกองทุนไทยและหุ้นไทย
    โดยใครที่สมัคร TSD portal อยู่แล้ว บอกเลยว่าสะดวกมาก เพราะสามารถไปกด Export ไฟล์เพื่อยื่นภาษีได้เลย โดยให้กดนำเข้าไฟล์ข้อมูลจาก TSD

image.png

หลังจากนั้นระบบก็จะดึงข้อมูลมาให้หมดว่า เครดิตภาษีเท่าไหร่หัก ณ ที่จ่ายไปเท่าไหร่ ซึ่งจะมีสรุปให้ตอนท้าย
image.png

ในส่วนของกองทุน ถ้าใครได้ปันผล เช่นพวกกองทุนที่เป็น -D ก็ให้มากรอกเพิ่มตรงนี้แต่จะไม่ได้เครดิตภาษีอยู่แล้ว แต่ก็ต้องยื่นเพราะ

ถ้ายื่นหมวดนี้แล้วต้องยื่นทั้งหมดทั้ง ปันผล กองทุนและหุ้น

image.png

เมื่อกรอกในส่วนของรายได้ครบแล้ว ก็ไปดูส่วนของการลดหย่อน ก็เช็คดูว่ามีส่วนไหนกรอกเพิ่มได้อีกหรือไม่

image.png

  1. ส่วนของกองทุนประกันสังคม ก็จะกรอกมาให้ เบี้ยประกันชีวิตเบี้ยประกันสุขภาพ ที่ ให้เช็คตอนแรกก็ใส่มาครบหมด

image.png

  1. ใครที่บริจาคให้พรรคการเมืองหรือ หรือวัดต่างๆก็อย่าลืม กรอกกันแต่โดยปกติ ถ้า โอนผ่านอีโดเนทแล้วมันจะขึ้นให้เช็คตั้งแต่ตอนแรก

image.png

  1. พอกรอกครบทั้งหมดก็จะมาตรวจข้อมูลในตอนสุดท้าย ให้เราเช็คดูว่า แบบยื่นเครดิตปันผล หรือ ไม่ยื่น อันไหนได้คืนเยอะกว่า แล้วเลือกว่าต้องการขอคืนไหมถ้าใจดีก็ไม่ต้องคืนให้รัฐเอาเงิน เอาเงินไปแจก

และตอนท้ายเลือกว่าจะอุดหนุนให้พรรคการเมืองไหม ถ้าไม่ก็ติ๊กไม่ต้องการ

image.png

  1. พอหลังจากยื่นแบบแล้วถ้ามีข้อมูลอะไรที่ต้องการแนบก็ให้แนบส่งไปให้หมด ส่วนถ้าตรงไหนเขาสงสัยเขาจะให้ส่งเพิ่มอีกทีนึง

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ กับเพื่อนๆที่ยังไม่ได้ยื่นแบบ หรือกำลังลังเลที่จะยื่นแบบ สามารถดู บทความนี้เป็นแค่คร่าวๆเท่านั้น โปรดศึกษาเพิ่มเติม หากมีข้อสงสัย โปรดถามสรรพากรโดยตรง RD Call Center 1161

ขอบคุณที่อ่านจนจบครับ

ร่วมแบ่งปันเครื่องมือดีๆ
Share :
Image

การลงทุน

หนังสือการลงทุนที่น่าสนใจ
หมวดอื่น
The Intelligent Investor

The Intelligent Investor

คัมภีร์การลงทุนแบบเน้นคุณค่า

ซื้อเลย
The Millionaire's Top Secret

The Millionaire's Top Secret

ความลับสู่เงินล้านที่โรงเรียนไม่เคยสอน

ซื้อเลย
The Money Formula

The Money Formula

สมการแสนล้าน พลิกกระดานวอลสตรีท

ซื้อเลย
☕️
👏
❤️
💸
🎉
❤️
👏
4Star
ทีม merefine
my babe 💖
Fun manger
ขอบคุณผู้สนับสนุนจากใจ

คุณคือผู้ทำให้เราได้ทำต่อไป 💖

ผู้สนับสนุนเดือนนี้ 9 ท่าน

สมาชิก 🥇+1 🥈+6

Buy Me a Coffee at ko-fi.com
Floating Image